รถยนต์ไฟฟ้าev คือ
รถยนต์ไฟฟ้าev คือ ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า มีชื่อเรียกแบบเต็มๆ ว่า Electric Vehicle โดย รถยนต์ไฟฟ้าev
จะใช้พลังจากไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันโดยระบบรถไฟฟ้าจะเก็บพลังงานเอาไว้ในแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จได้ และแปลงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ในการขับเคลื่อนรถ ทำให้การขับขี่นั้น แรงบิด (Torque) ที่สูงสุดที่นิ่งและคงที่ทำให้สามารถออกตัวได้เร็วเงียบและไม่มีไอเสียจากการเผาผลาญพลังงานและมีน้ำหนักของตัวรถที่เบา แตกต่างจาก รถยนต์ใช้น้ำมัน ที่ต้องอาศัยการจุดระเบิดเผาไหม้ของเครื่องยนต์เพิ่มสร้างพลังงานในการขับเคลื่อนต้องอาศัยรอบเครื่องที่สูงในการสร้าง แรงบิด (Torque) สูงสุด และตัวรถมีน้ำหนักที่มากกกว่า
8 tip ที่ต้องรู้สำหรับๆคนที่กำลังต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
1. รู้ Features ที่เราต้องการ
รถยนต์ไฟฟ้า EV นั้นนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ที่น่าตื่นเต้นมากมาย แต่ก็จะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้น การตัดสินใจเลือกว่ามีเทคโนโลยีหรือ Features ใหม่ๆใดบ้างที่จำเป็นต่อการใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าev ของคุณจริงๆ จะทำให้คุณ จ่ายเฉพาะคุณสมบัติที่ต้องการ
การเชื่อมต่อ(Connectivity) :
รถยนต์ไฟฟ้า EV เกือบทั้งหมดในตลาด ส่วนใหญ่จะรองรับการเชื่อมต่อกับ Android Auto หรือ Apple CarPlay ซึ่งให้คุณเสียบโทรศัพท์และใช้แอพและบริการปกติทั้งหมดของคุณบนหน้าจอบนรถและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการนำทางตามแผนที่
ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Self driving) :
อย่างเช่นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Tesla ที่สามารถ ขับเองได้เพียงแค่ตั้งค่าจุดหมายปลายทาง รวมถึงการ summon รถต่างๆ ที่สามารถเรียกรถยนต์ให้ออกมารับได้โดยที่คนขับไม่ต้องอยู่บนรถ การทำงานเหล่านี้เกิดจาก ซอฟต์แวร์ที่ชาญฉลาดและฮาร์ดแวร์ระบบเซนเซอร์ที่ล้ำสมัย ระดับ Hi-end และสามารถเปลี่ยนเลนเซงได้เอง ทุกอย่างที่กล่าวมานั้นสามารถหาได้จาก รถยนต์ไฟฟ้า EV ที่เป็นตัวท็อปๆ อย่าง แบรนด์ Tesla ซึ่งก็จะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน รองลงมาก็จะเป็น semi-autonomous driving ที่อาจไม่สุดยอดเท่ากับระบบของ Tesla ที่ดูเวอร์วัง ในรถยนต์ไฟฟ้า EV ระดับนี้คุณก็ยังสามารถให้รถยนต์ของคุณเอง เพิ่มความเร็วและชะลอความเร็วเองได้ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร และยังมีคุณสมบัติการช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นพื้นฐานอื่นๆ ที่รวมอยู่ในนี้ ได้แก่ การตรวจจับจุดบอด เบรกฉุกเฉิน และกล้องภายนอก หรือในรถยนต์ไฟฟ้า
2. รู้ระยะทางที่ต้องการจะใช้งาน
แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง เป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่แพงที่สุดของรถยนต์ไฟฟ้า และยิ่งแบตเตอรี่มีขนาดใหญ่เท่าใด คุณก็ยิ่งต้องจ่ายมากขึ้นเท่านั้น การเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า EV รุ่นที่มีขนาดแบตเตอรี่ที่วิ่งได้ตามระยะทางที่เราต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก เช่น Nissan Leaf มีระยะทางเริ่มต้นที่วิ่งได้ประมาณ 240 กิโลเมตร ในขณะที่ Tesla Model S Plaid สามารถทำนะยะทางได้สูงถึง 640 กิโลเมตรเลยทีเดียว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ตัวเลขระยะทาง ที่โฆษณาว่าจะวิ่งได้เท่าไรนั้นคือ ตัวเลขที่เป็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของรถยนต์ที่ทำได้ วิธีขับขี่ของคุณจะส่งผลต่อระยะทางโดยรวม ตัวอย่างเช่น หากคุณขับรถเร็วขึ้น พลังงานสำรองแบตเตอรี่ของคุณจะหมดลง เช่นเดียวกับการขับรถน้ำมันด้วยความเร็วที่เร็วขึ้น ซึ่งจะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น
3. สถานที่ชาร์จรถไฟฟ้า
คุณไม่จำเป็นต้องมีที่ชาร์จที่บ้านเพื่อซื้อ รถยนต์ไฟฟ้า EV แต่ถ้ามีมันก็ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นมากและคุณก็สามารถ หาที่ชาร์จสาธารณะหรือตามปั้มที่มีอยู่ในพื้นที่ของคุณ แต่คุณต้องแน่ใจว่าคุณพบที่ชาร์จที่มีปลั๊กหรือเต้ารับที่ถูกต้อง ดังนั้นการวางแผนการ รีชาร์จจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะใช้เวลาชาร์จนานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับรุ่นของรถยนต์แต่ละรุ่นถึงแม้ว่าคุณมีหัวชาร์จ ขนาด 240 โวล ชาร์จกับแบตเตอรี่ขนาดเล็ก การชาร์จด้วยกำลังไฟ 40 kWh จาก 20-80% ก็ใช้เวลาเกือบ 9 ชั่วโมงเลยทีเดียว และ 80-100% อาจใช้เวลาสูงถึง 15 ชั่วโมง ดังนั้น การเลือกติดตั้งระบบชาร์จไฟที่บ้านจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญด้วยเหมือนกัน
4. Self-driving features ไม่ได้หมายความว่ารถยนต์สามารถขับได้เอง
ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Autopilot ของ Tesla ถูกออกแบบมาให้ตัวรถยนต์นั้นสามารถเร่งและเบรกโดยอัตโนมัติได้
โดยที่จำเป็นต้องมีการควบคุมดูและตอบสนองของผู้ขับขี่อยู่หลังพวงมาลัย
5. การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าevไม่ได้หมายความว่าจะประหยัดกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันเสมอไป
การใช้รถยนต์ไฟฟ้าev นั้นอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงในตอนแรก คุณอาจต้องจ่ายราคาบวกภาษีนำเข้าที่ยังสูงอยู่ และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของการติดตั้งตัวชาร์จเจอร์แต่ในระยะยาวแล้วการใช้รถยนต์ไฟฟ้าev ประหยัดในส่วนของการบำรุงการรักษาที่มีชิ้นส่วนน้อยกว่าและถูกกว่าส่วนในด้านของการบริโภคพลังงานนั้น ใน สหรัฐ ต้นทุนน้ำมันเบนซินเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ $2.85 ต่อแกลลอน eGallon จะอยู่ที่ $1.16 ต่อแกลลอน
6. การติดตั้ง Home charger ก็สามารถมองเป็นการลงทุนระยะยาว
โดยค่าเฉลี่ยทั่วไปสำหรับการติดตั้งที่ชาร์จรถในบ้านอยู่ระหว่าง 30,000 ถึง 75,000 บาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ จึงถือเป็นการลงทุนระยะยาวที่เมื่อติดตั้งไปแล้วก็ใช้กันยาวๆ เราขอแนะนำให้มองหาที่ชาร์จ ‘เร็ว’ ระดับ 2 ขึ้นไป ซึ่งเป็นที่ชาร์จที่ให้กำลังชาจ์จอยู่ที่ 7kW และเลือกเครื่องชาร์จที่ได้มาตรฐาน มอก. 61851 หรือ IEC 61851 โดย ประเภทหัวชาร์จของรถยนต์ไฟฟ้าev จะมีอยู่ 3 แบบ
Type 1
เป็นหัวชาร์จสำหรับรถญี่ปุ่น และอเมริกา เช่น Nissan Leaf / Tesla ที่ขายในอเมริกา
Type 2
เป็นหัวชาร์จสำหรับรถยุโรป ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าevยุโรป เกาหลีใต้ แพร่หลายในไทย เช่น Mercedes-Benz / BMW/ Volvo / Porsche / Tesla เป็นหัวชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แบบ 7 Pin ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (70A 250V) และแบบ 3 เฟส (63A 480V)
Type GB/T
เป็นหัวชาร์จ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าevจากจีน เช่น BYD และรถที่ขายในจีน
7. ตรวจเช็คภาษีรถยนต์ไฟฟ้าให้ดี
กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า ราคาไม่เกิน 2 ล้าน
– ลดภาษีศุลกากร 40%
– ลดภาษีสรรพสามิตจากเดิม 8% เหลือ 2%
และยังได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มจากรัฐบาล ถ้าหาก ขนาดของแบตเตอรี่ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ได้รับเงินอุดหนุนประมาณ 70,000 บาท และถ้าหาก แบตเตอรี่มากกว่า 30 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง จะได้รับเงินอุดหนุน สูงสุดไม่เกิน 150,000 บาท
กลุ่มรถไฟฟ้า ที่ราคามากกว่า 2 ล้านบาท
– ลดภาษีศุลกากร 40%
– ลดภาษีสรรพสามิตจากเดิม 8% เหลือ 2%
8. รู้ความแตกต่างรถยนต์ไฟฟ้า กับ ไฮบริด
รถไฮบริดและรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ดีทั้งสองแบบ แต่ไฮบริดอาจจะราคาถูกกว่าแต่ในอนาคตรถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาที่ถูกลงเรื่อยๆเนื่องจากใช้ชิ้นส่วนน้อยกว่ารถยนต์ไฮบริดเป็นอย่างมากเพราะไม่ต้องมีเครื่องยนต์สันดาป และการดูแลรถยนต์ไฮบริดนั้นยุงยากกว่าเพราะต้องดูแลทั้งสองระบบ คือเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ก็ต้องเปลี่ยนเช่นเดียวกันซึ่งแตกต่างจากรถยนต์ EV ที่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่หรือ มอเตอร์ได้ง่ายเพราะชิ้นส่วนที่ซับซ้อนน้อยกว่ามาก และบางปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ไฟฟ้าอาจแก้ไขได้ด้วยการอัพเดทซอฟต์แวร์
รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ (BEV)
เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบซึ่งต้องอาศัยแบตเตอรี่ในการทำงาน
รถยนต์ไฮบริด (PHEV)
เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากรถยนต์ไฮบริด เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ โดยสามารถเติมพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งภายนอก (Plug-in)ต่างจากระบบไฮบริดแบบดั้งเดิมที่เผาผลาญก๊าซเพื่อชาร์จ PHEV ตัวอย่าง ได้แก่ Mercedes e300