ที่วัดความดันข้อมือคืออะไร วัดความดันทำไม
เป็นเครื่องมือที่เอาไว้ใช้ตรวจวัดค่าความดันของกระแสเลือด การไหลเวียนของกระแสเลือด ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวไปยังทั่วร่างกาย โดยค่าวัดความดันโลหิตจะสามารถวัดออกมาได้ 2 ค่า คือ
- ความดันช่วงบน (Systolic Blood pressure) เป็นการวัดความดันโลหิต ในขณะที่หัวใจบีบตัว หากมีค่าควาดดันซิสโตลีมากกว่า 140 มม.ปรอท ก็มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- ความดันช่วงล่าง (Diastolic blood pressure) เป็นการวัดความดันโลหิต ในขณะที่หัวคลายตัว หากมีค่าไดแอสโตลีมากกว่าหรือเท่ากัน 90 มม.ปรอท มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคความดันสูง
ซึ่งค่าเหล่านี้สามารถวัดได้ในขณะที่พักผ่อนอยู่ จะสามารถแสดงค่าที่ตรวจออกมาได้อย่างถูกต้อง โดยตัวเครื่องวัดความดันก็จะมีอยู่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องวัดความดันทั่วไปที่ปกติจะสวมใส่ที่แขน ซึ่งจะมีขนาดที่ใหญ่ ใช้งานที่บ้าน หรือจะเป็นที่วัดความดันข้อมือซึ่งจะใช้งานได้ง่าย สามารถใช้งานที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งค่าที่ตรวจออกมาให้ความแม่นยำไม่แตกต่างกันมาก ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ออกแบบเครื่องมือให้ใช้งานได้สะดวกและมีคุณภาพที่สูงตาม ราคาที่คุ้มค่ากับการใช้งานในการดูแลสุขภาพของผู้ใช้งาน
โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิต คือ แรงดันที่เกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ เป็นแรงดันที่เกิดภายในกระแสเลือด ซึ่งเป็นการบีบของหัวใจส่งออกซิเจนในเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย
ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่ตรวจพบเจอเมื่อความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ โดยระดับความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มม.ปรอท. ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคความดันโรหิตสูงนั้น ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว แต่ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงนั้น ได้แก่ ความอ้วน ทานอาหารรสเค็มมากเกินไป การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การที่เราจะรู้ได้มั้ยนั้น จะต้องใช้เครื่องวัดความดันเพื่อตรวจว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ ด้วยการใช้เครื่องวัดความดันที่มีคุณภาพ ไม่ใช่แค่ที่วัดความดันแบบข้อมือหรือแบบแขนเท่านั้น แต่ก็ต้องให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ
เครื่องวัดความดันแบบข้อมือ
การใช้เครื่องวัดความดันนั้นโดยทั่วไปแล้ว จะนำมาใช้เพื่อตรวจเช็คถึงสุขภาพ ซึ่งเครื่องวัดความดันบางชนิดนั้น ใช้งานยาก ตรวจผลออกมาไม่แม่นยำทำให้เกิดความผิดพลาดของผลตรวจได้ เครื่องวัดความดันทั่วไปก็พกพาไปไหนมาไหนไม่สะดวกด้วยขนาดเครื่องที่ใหญ่และเครื่องมือประกอบเยอะ ซึ่งปัจจุบันที่วัดความดันก็มีหลากหลายให้เลือกไม่ว่าจะเป็นแบบแมนนวล อัตโนมัติ ใส่ที่แขนและข้อมือก็ตาม ซึ่งก็มีทั้งข้อดีข้อเสียต่างกันไปโดยเครื่องวัดความดันข้อมือนั้น เป็นเครื่องมือที่ทันสมัยให้ข้อมูลที่แม่นยำไม่ต่างจากเครื่องวัดความดันทั่วไป ที่วัดความดันข้อมือยังสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก ด้วยขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา กระทัดรัด เป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่าย สามารถบันทึกผลการวัดเพื่อเปรียบเทียบได้
วิธีใช้เครื่องวัดความดันข้อมือได้ไม่ยาก
การทำงานของเครื่องวัดความดันข้อมือนั้นจะทำงานแบบอัตโนมัติ โดยผู้ใช้งานสามารถสวมใส่โดยการหงายข้อมือขึ้น หันหน้าจอเครื่องวัดความดันเข้าหาตัว แล้วใช้สายรัดข้อมือรัดข้อมือให้แน่นพอสมควรเพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้เต็มที่เวลาบีบตัว หลังจากสวมใส่เรียบร้อยก็นั่งพักก่อนจะกดปุ่มเปิดใช้งานประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยกดปุ่มเริ่มเปิดใช้งานเครื่อง หลังจากนั้นก็ปล่อยให้เครื่องทำงานให้เสร็จ ก็จะแสดงผลออกมาที่หน้าจอ ซึ่งการใช้งานนั้นไม่ยาก เพียงแค่กดปุ่มเพียงปุ่มเดียวเครื่องก็จะทำงานโดยอัตโนมัติเองทั้งหมด
ควรเลือกซื้อเครื่องวัดความดันข้อมือยังไงดี
1.ควรเลือกเครื่องวัดความดันข้อมือที่มีคุณภาพ ที่วัดความดันข้อมือต้องมีมาตรฐานเหมาะสมกับการใช้งาน เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วย เรื่องของคุณภาพและมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ ต้องเป็นเครื่องที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและวัดค่าออกมาได้อย่างแม่นยำ
2.เครื่องวัดความดันข้อมือจะต้องตรงกับการใช้งาน เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีอาการและความต้องการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องวัดความดันข้อมือให้ตรงกับการใช้งาน เช่น เลือกรุ่นที่มีแบตเตอรี่ใช้ได้ยาวนาน สำหรับใช้กับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ต้องวัดความดันวันละหลายๆ รอบ รวมถึงควรเลือกรุ่นที่มีราคาสอดคล้องกับงบประมาณด้วยเพื่อความคุ้มค่า เป็นต้น
3.เลือกเครื่องวัดความดันข้อมือที่มีการรับประกัน แม้จะเลือกเครื่องวัดความดันข้อมือที่ได้มาตรฐานแล้ว แต่การมีการรับประกันการใช้งาน ก็จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจในการใช้งานได้ โดยทางที่ดีควรเลือกซื้อเครื่องที่มีระยะเวลาการรับประกันอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป
4.ดูการบริการหลังการขายของเครื่องวัดความดันข้อมือ การตอบกลับจากลูกค้าหลังการใช้งาน จะเป็นตัวช่วยในการเลือกซื้อที่วัดความดันข้อมือ ซึ่งจะสามารถดูได้จากคะแนนหรือคอมเม้นจากการซื้อเครื่องวัดความดันข้อมือนั้นๆ
แนะนำเครื่องวัดความดันข้อมือ
เครื่องวัดความดันแบบข้อมือ OMRON รุ่น HEM-6161
เครื่องวัดความดันข้อมือของ Omron รุ่น HEM-6161 เป็นเครื่องที่ทำงานอัตโนมัติ เพียงแค่พันไว้รอบข้อมือให้ดี แล้วจะมีสัญลักษณ์แจ้งเตือนขึ้นถ้าสวมใส่ไม่เรียบร้อย ด้วยระบบรัดต้นแขนแบบ IntelliWrap และก็จะมีสัญลักษณ์ขึ้นเตือนเมื่อตรวจจับได้ว่าหัวใจมีการเต้นผิดปกติ มีระบบช่วยบันทึกค่าวัดความดัน เพื่อการจัดการสุขภาพ เป็นที่วัดความดันข้อมือที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถพกพาออกไปข้างนอกได้อย่างสบาย ทำได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ
เครื่องวัดความดันแบบข้อมือ OMRON รุ่น HEM-6232T
เครื่องวัดความดันข้อมือ Omron รุ่น HEM-6232T โดยการทำงานจะทำผ่านแอฟ Omron Cennect ซึ่งจะช่วยส่งข้อมูลความดันโลหิตจากที่วัดความดันข้อมือไปยังแอพ โดยจะเชื่อมต่อข้อมูลผ่านทางบลูทูธ จะสามารถบันทึกข้อมูลและการติดตามข้อมูลสำหรับการจัดการดูแลสุขภาพของผู้ใช้งาน พร้อมสัญลักษณ์แจ้งเตือนขึ้นเมื่อพันผ้าเรียบร้อย สัญลักษณ์ขึ้นเตือนเมื่อตรวจจับการเต้นหัวใจที่ผิดปกติและจะมีการแจ้งเตือนเมื่อมีการตรวจจับได้ว่ามีการเคลื่อนไหวขณะใช้งานเครื่องวัดความดันข้อมือ
เครื่องวัดความดันแบบข้อมือ CITIZEN รุ่น CH-650
เครื่องวัดความดันข้อมือของ Citizen รุ่น CH-650 เป็นเครื่องวัดความดันข้อมือ ใช้งานง่าย เหมาะทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ พกพาไปไหนมาไหนสะดวก พร้อมเครื่องมือการบันทึกข้อมูลสำหรับการดูแลสุขภาพของผู้ใช้งาน พร้อมหน้าจอดิจิตอลขนาดใหญ่ทำให้มองเห็นได้ชัด โดยการกดปุ่มเพียงครั้งเดียวเครื่องก็จะทำงานโดยอัตโนมัติและตัวเครื่องเมื่อไม่ใช้งาน ก็จำการปิดเองโดยอัตโนมัติ
เครื่องวัดความดันแบบข้อมือ BEURER รุ่น BC28
เป็นเครื่องวัดความดันที่ข้อมือที่จะวัดความดันและชีพจรโดยอัตโนมัติ ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน เครื่องจะแสดงผลที่วัดค่าออกมาได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับแสดงค่าเฉลี่ยของผลการวัดที่ผ่านมาทั้งหมด 7 วันล่าสุด พร้อมหน้าจอLCD จะมีการแจ้งเตือนเมื่อแบตเตอรี่ใกล้จะหมด ซึ่งจะใช้แบตเตอรี่ AAA 1.5V (2ก้อน) มีบอกวันที่และเวลาระบุ พร้อมกับการปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่ได้ใช้งาน ขนาดกะทัดรัด พกพาง่ายสะดวก จัดเก็บง่าย